+ VPS คืออะไร ใช้ทำอะไร?
VPS คืออะไร?

Virtual Private Server หรือตัวย่อ VPS นั้นเป็น การสร้างเซิร์ฟเวอร์ส่วนตัวจำลอง หรือ เซิร์ฟเวอร์ส่วนตัวเสมือน (แล้วแต่จะเรียก) ขึ้นมาด้วยซอฟต์แวร์ที่ถูกออกแบบและพัฒนามาเพื่อการนี้โดยเฉพาะ


VPS ใช้ทำอะไรได้บ้าง?

1.ใช้เปิดบริการให้เช่าพื้นที่เซิร์ฟเวอร์ด้วยตัวเอง

ถ้าหากว่าคุณมีความรู้ในการจัดการเซิร์ฟเวอร์ คุณก็สามารถเปลี่ยนจากผู้ใช้บริการมาเป็นผู้ให้บริการแทนได้ด้วยการลงทุนกับตัวเซิร์ฟเวอร์แล้วปล่อยให้เช่า อย่างเช่น การทำ Hosting Website หรือถ้าคุณเป็นคอเกม คุณอาจต้องการที่จะเป็นโฮสต์ให้กับเซิร์ฟเวอร์เกมของคุณเอง เพื่อให้คุณและเพื่อนๆ สามารถเล่นเกมอย่าง Minecraft Rust FiveM หรือเกมออนไลน์อื่นๆ ด้วยกันได้อย่างไร้กังวล

2.ใช้เป็นตัวทดสอบซอร์ฟแวร์หรือแอพลิเคชัน

สำหรับกลุ่มผู้ใช้ที่อยู่ในแวดวงไอทีหรือเป็นนักพัฒนาโปรแกรม แอพลิเคชัน หรือระบบปฏิบัติการต่างๆ VPS เป็นตัวเลือกที่ดีเยี่ยม ที่สามารถใช้ในการทดสอบระบบ หรือซอฟต์แวร์ใหม่ ก่อนที่จะนำซอร์ฟแวร์นั้นๆ ไปให้บริการลูกค้า หรือไปใช้งานจริง

3.ใช้เป็นพื้นที่สำรองข้อมูล

เมื่อเป็นเจ้าของพื้นที่เซิร์ฟเวอร์ คุณสามารถใช้พื้นที่ว่างที่เหลือใน VPS ในการสำรองไฟล์ต่างๆ ได้ ซึ่งเป็นวิธีที่จะใช้พื้นที่ที่ได้มาอย่างคุ้มค่าสูงสุด และเป็นวิธีที่ง่ายในการสำรองไฟล์สำคัญต่างๆ

4.ใช้สร้างพื้นที่ส่วนตัวในการซิงค์และเก็บไฟล์

เชื่อว่าหลายคนมีอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคต่างๆ ที่ใช้อยู่เป็นประจำไม่ต่ำกว่า 2-3 เครื่อง ไม่ว่าจะเป็นแล็ปท็อป สมาร์ทโฟน แท็ปเล็ต และคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ หรืออาจจะทั้งหมดที่กล่าวมา ในการซิงค์ข้อมูลและไฟล์ต่างๆ เพื่อให้สามารถเข้าถึงและเรียกดูไฟล์ที่ต้องการได้ ไม่ว่าในขณะนั้นจะใช้เครื่องไหนอยู่ก็ตามนั้น หลายคนจะใช้บริการพื้นที่ออนไลน์ต่างๆ เช่น Dropbox, Live Mesh, SpiderOak และ SugarSync เป็นต้น การเป็นเจ้าของ VPS เซิร์ฟเวอร์ จะทำให้ผู้ใช้สามารถสร้างพื้นที่ส่วนตัวในลักษณะเดียวกับ Dropbox เพื่อใช้ประโยชน์ด้านนี้โดยเฉพาะ ทั้งยังสามารถสร้างพื้นที่จัดเก็บที่มีความปลอดภัยแน่นหนาเท่าที่ต้องการ

5.ใช้เป็นเซิร์ฟเวอร์สำหรับการรับส่งอีเมลหรือเซิร์ฟเวอร์ VOIP

VOIP หรือ Voice over IP คือการส่งข้อมูลภาพและเสียงแบบมัลติมีเดียผ่านเซิร์ฟเวอร์ด้วยความเร็วสูง เมื่อใช้ VPS ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาบริการอื่นในการโทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต หรือการจัดการรับส่งอีเมล์อีกต่อไป การติดต่อสื่อสารในเชิงธุรกิจในปัจจุบันหันมาพึ่งพาการติดต่อผ่านอินเทอร์เน็ตกันมากกว่าในอดีต เพราะคุณภาพและความรวดเร็วที่เหนือชั้นกว่ามาก ทำให้ VPS เซิร์ฟเวอร์สามารถตอบโจทย์ในด้านนี้ให้กับองค์กรและกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ได้


สรุปก็คือ

VPS เหมาะในการรันเซิร์ฟเวอร์หรือโปรแกรมต่างๆที่ใช้ทรัพยากรที่ไม่หนักมากนัก ไม่สามารถใช้ในการเล่นเกม หรือ โปรแกรมที่ใช้ทรัพยากรหนักๆได้นั่นเอง


+ วิธีการยืนยันอีเมลและเบอร์โทร

ขั้นตอนที่ 1

Login เข้าสู่ระบบที่หน้าเว็บไซต์

ขั้นตอนที่ 2

เมื่อ Login เข้าสู่ระบบเรียบร้อยแล้ว กดไปที่ ไปยืนยันตอนนี้ หรือ ไปที่ ข้อมูลส่วนตัว

ขั้นตอนที่ 3

เมื่อมายังหน้าข้อมูลส่วนตัวแล้ว จะเห็นข้อความเขียนว่า คุณยังไม่ได้ยืนยันอีเมลและเบอร์มือถือ!!!
ให้กดไปที่ กดเพื่อยืนยันอีเมล หรือ กดเพื่อยืนยันเบอร์มือถือ

ขั้นตอนที่ 4

เมื่อกดไปที่ปุ่ม กดเพื่อยืนยันอีเมล หรือ กดเพื่อยืนยันเบอร์มือถือ จะมี Popup เด้งขึ้นมา ให้เรากดไปที่ ส่งรหัสยืนยัน

ขั้นตอนที่ 5

หลังจากกดส่งรหัสไปแล้ว ระบบจะทำการส่งรหัสยืนยันตัวตน
ถ้ากดยืนยันอีเมล ระบบจะส่งรหัสยืนยันไปที่อีเมลของลูกค้า ที่ลูกค้าใช้สมัครเข้ามา
ถ้ากดยืนยันเบอร์มือถือ ระบบจะส่งรหัสยืนยันไปที่เบอร์มือถือของลูกค้า ที่ลูกค้าใช้สมัครเข้ามา

ขั้นตอนที่ 6

ให้เราทำการก๊อปปี้รหัสที่ระบบส่งไป นำไปวางในช่อง Email OTP หรือ Phone OTP

ขั้นตอนที่ 7

เมื่อใส่ลงไปแล้วถ้าถูกต้องระบบจะแจ้งว่าทำการยืนยันสำเร็จ ก็เป็นอันเสร็จสิ้นการยืนยันอีเมลหรือการยืนยันเบอร์มือถือ

คำเตือน

ให้ทำทีละอัน ถ้าจะยืนยันอีเมลก็ให้ทำการยืนยันอีเมลให้เสร็จก่อน แล้วค่อยไปกดยืนยันเบอร์มือถือ เพราะรหัสที่ใช้ยืนยันแต่ละอันจะไม่เหมือนกัน

+ วิธีการกู้รหัสผ่าน

ขั้นตอนที่ 1

ไปยังหน้าเว็บ Control Panel + Control Panel

ขั้นตอนที่ 2

ตรงด้านล่างสุด จะมีคำว่า ลืมรหัสผ่านหรอ? ให้เรากดเข้าไปที่ กู้รหัสผ่าน

ขั้นตอนที่ 3

ให้ทำการใส่อีเมลที่เราใช้สมัครลงไปในช่อง Email แล้วกด ลืมรหัสผ่าน

ขั้นตอนที่ 4

หลังจากที่เรากดไปแล้ว ระบบจะทำการส่งลิ้งกู้รหัสผ่านไปยังอีเมลของคุณ

ขั้นตอนที่ 5

ให้เราไปที่อีเมลของเรา แล้วเข้าไปยังอีเมลที่ชื่อ KUMA-STUDIO หัวข้อ Reset password

ขั้นตอนที่ 6

เมื่อกดเข้าไปแล้วให้เรากดไปที่ Reset password

ขั้นตอนที่ 7

เมื่อกดเข้าไปแล้ว ตัวเว็บจะเข้าไปที่หน้าเว็บสำหรับตั้งรหัสผ่านใหม่

ขั้นตอนที่ 8

ให้เราทำการตั้งรหัสผ่านใหม่ เป็นการเสร็จสิ้นการกู้รหัสผ่าน

+ วิธีการเช่า VPS

ขั้นตอนที่ 1

เมื่อเข้ามาในเว็บไซต์แล้ว ให้ลูกค้ากดไปที่ VPS SERVER ตามนิ้วที่ชี้ในรูป

ขั้นตอนที่ 2

เมื่อเข้ามาในหน้านี้แล้ว ให้ลูกค้าเลือกดูราคาตามสเป็คที่ลูกค้าต้องการ เมื่อเลือกสเป็คที่ต้องการได้แล้ว
ให้กดที่ + Get STARTED ตามนิ้วที่ชี้ในรูป

ขั้นตอนที่ 3

เมื่อมายังหน้านี้แล้ว ให้ลูกค้ากดไปที่ Rent VPS / เช่า VPS ตามรูปตัวอย่าง
*หมายเหตุ* ถ้าลูกค้ายังไม่ได้เติมเงิน ให้ลูกค้าทำการเติมเงินได้ที่หน้า TOPUP (เติมเงิน) ก่อน

ขั้นตอนที่ 4

เลือกเซิฟเวอร์ที่ต้องการ ตามกรอบสีแดงในรูป

ขั้นตอนที่ 5

เลือก OS ที่ลูกค้าจะเช่าได้ตามต้องการ

ขั้นตอนที่ 6

เลือกสเป็คที่ลูกค้าจะเช่า โดยให้เลือกสเป็คที่ยังว่างอยู่ ถ้าเกิดสเป็คที่เราต้องการยังไม่ว่าง
ให้เราเปลี่ยนเซิฟเวอร์โดยการเลือกเซิฟเวอร์ใหม่(ในขั้นตอนที่ 4)

ขั้นตอนที่ 7

ในขั้นตอนนี้ ให้เราเลือกรูปแบบที่จะเช่า ตามกรอบสีน้ำเงิน โดยจะมี รายวัน/รายสัปดาห์/รายเดือน/รายปี
หลังจากเลือกรูปแบบที่จะเช่าได้แล้ว ให้ดูที่กรอบสีแดง จะมีช่องทั้งหมด 3 ช่อง แต่ละช่องมีรายละเอียดดังนี้
ช่องที่ 1 คือ ชื่อVM ในช่องนี้คือช่องที่เราสามารถตั้งชื่อให้กับเครื่องเซิฟเวอร์ของเราได้ จะตั้งหรือไม่ตั้งก็ได้
ช่องที่ 2 คือ รหัสผ่าน ในช่องนี้คือช่องที่เราสามารถตั้งรหัสผ่านให้กับเครื่องเซิฟเวอร์ของเราได้ จะตั้งหรือไม่ตั้งก็ได้
ช่องที่ 3 คือ โค้ดส่วนลด ในช่องนี้คือช่องใส่โค้ดส่วนลด โดยโค้ดนี้จะได้จากกิจกรรมหน้าเพจเท่านั้น ถ้าไม่มีก็ไม่ต้องใส่
หลังจากใส่รายละเอียดครบทุกช่องแล้ว ให้ลูกค้ากดไปที่ Deploy / สร้าง ที่ปุ่มสีเขียว เพื่อทำการเช่า VM
*หมายเหตุ 1* หลังจากกดสร้างไปแล้ว ให้รอจนกว่าหน้าสร้าง VM จะหายไป
*หมายเหตุ 2* ในกรณีที่กดสร้างไปแล้ว รอจนหน้าสร้าง VM ยังไม่หายไป ให้ทำการ Refesh หน้าเว็บ

ขั้นตอนที่ 8

หลังจากที่ลูกค้าสร้าง VM เสร็จแล้ว ให้รอจนกว่าตรง STATUS (ช่องสีแดง)กลายเป็นสีเขียว

ขั้นตอนที่ 9

เมื่อตรง STATUS กลายเป็นสีเขียวแล้ว ให้กดไปที่ MANAGE / จัดการเซิฟเวอร์ เพื่อเข้าสู่หน้าจัดการ
โดยเมื่อกดเข้าไปแล้วในหน้าจัดการจะมีรายละเอียดต่างๆเพื่อให้ลูกค้าได้ใช้งานเครื่องเซิฟเวอร์ที่ลูกค้าเช่าไป

+ วิธีเติมเงินไว้สำหรับเช่า VPS

ให้ลูกค้า Login เข้าสู่ระบบก่อน

คลิ๊กไปที่ TOPUP (เติมเงิน) เพื่อเข้าสู่หน้าเติมเงิน
โดยในหน้าเติมเงินจะมีช่องทางการเติมทั้งหมด 3 ช่องทาง
1.PromorPay(แสกนQRCode) เป็นการเติมเงินโดยแสกน QRCode
2.Bank Transfer(แบบโอนธนาคาร) เป็นการเติมเงินแบบการโอนธนาคาร
3.Truemoney Gift Wallet(แบบอั่งเปาทรูวอเลท) เป็นการเติมเงินโดยใช้อั่งเปาของทรูวอเลท

การเติมเงินด้วย PromptPay(แสกนQRCode)

1.คลิ๊กที่ PromptPay
2.ใส่จำนวนเงินที่ต้องการเติม (ขั้นต่ำ 100 บาท และ ต้องเป็นจำนวนเต็มเท่านั้น)
3.คลิ๊กที่ เติมเงิน เมื่อคลิ๊กแล้วจะมีหน้า QRCode เด้งขึ้นมา สามารถแสกนจ่ายได้เลย
4.เมื่อแสกนจ่ายเสร็จแล้ว ให้รอจนกว่า STATUS จะขึ้นสถานะว่า สำเร็จ แล้วเงินจะเข้าอัตโนมัติทันที

การเติมเงินด้วย Bank Transfer(โอนธนาคาร)

1.คลิ๊กที่ Kasikorn Bank
2.ทำการโอนเงินไปที่บัญชีที่ระบุไว้ (ขั้นต่ำ 100 บาท และ ต้องเป็นจำนวนเต็มเท่านั้น)
3.ช่องที่ 1 ให้ใส่จำนวนเงินที่โอน ช่องที่ 2 ให้ใส่เวลาที่โอน แล้วกดเติมเงิน
4.หลังจากกดเติมเงินแล้ว ระบบจะทำการเช็ครายการโอน ถ้าสำเร็จเงินจะเข้าบัญชีโดยอัตโนมัติ
*หมายเหตุ* โปรดอ่านตรงอักษรสีแดงให้ระเอียด ก่อนดำเนินการ

การเติมเงินด้วย Truemoney Gift Wallet

1.คลิ๊กที่ Truemoney Gift Wallet
2.นำลิ้งอังเป่ามาใส่ในช่องนี้ (แนะนำให้ก๊อปปี้ลิ้งจากแอพโดยตรง)
3.กดเติมเงิน ถ้าลิ้งอั่งเปาถูกต้องและยังไม่ผ่านการใช้งานมาก่อน เงินจะเข้าบัญชีโดยอัตโนมัติ
*หมายเหตุ* ถ้าเติมไม่สำเร็จ ให้ดูที่ลิ้งให้ดีว่าถูกต้องหรือไม่ แนะนำให้ก๊อปปี้ลิ้งโดยตรงจากแอพเท่านั้น

+ วิธี Manage VPS (จัดการเครื่อง VPS)

รายละเอียดปุ่มต่างๆในหน้า Manage

+ ปุ่ม POWER OFF/POWER ON คือ ปุ่มไว้สำหรับปิดและเปิดเครื่อง
+ ปุ่ม RESTART คือ ปุ่มไว้สำหรับรีสตาร์ทเครื่อง
+ ปุ่ม REINSTALL OS คือ ปุ่มไว้สำหรับลง OS ใหม่ (คำเตือน ฟังชั่นนี้ถ้าใช้แล้วข้อมูลภายในจะหายหมด)
+ ปุ่ม Auto renerwal คือ ปุ่มไว้สำหรับเปิดปิดฟังชั่นต่ออายุแบบอัตโนมัติ (การต่ออายุแบบอัตโนมัติจะเป็นการต่อแบบรายวัน)
+ ช่อง Voucher คือ ช่องสำหรับใส่โค้ดส่วนลด ลูกค้าสามารถใส่โค้ดส่วนลดได้ตอนกดต่ออายุ
+ ปุ่ม ต่ออายุ Renerwal คือ ปุ่มไว้สำหรับต่ออายุการใช้งาน
+ ปุ่ม ลบเครื่อง DELETEVM คือ ปุ่มไว้สำหรับลบเครื่อง (ลบแล้วเครื่องและข้อมูลจะหายทันทีและไม่มีการคืนเงิน)
+ วิธีเข้าใช้งานเครื่องเซิฟเวอร์ VPSและDDC

สำหรับ Windows

1.คลิ๊กขวา Start แล้วเลือก Search
2.พิมพ์คำว่า Remode Desktop Connection แล้วคลิ๊กเข้าไป
3.ตรงช่อง Computer ให้ใส่ไอพีที่ลูกค้าได้รับไปแล้วกด Connect
4.กดที่ More choices แล้วเลือก Use a different account
5.ตรงช่อง User name ให้ใส่ Username ที่ลูกค้าได้รับ
6.ตรงช่อง Password ให้ใส่ Password ที่ลูกค้าได้รับ
7.กด OK ถ้ามี Popup เด้งขึ้นมาก็ให้กด OK ไปได้เลย
8.เป็นอันเสร็จสิ้นการเข้าใช้งานสำหรับ VM ที่เป็น Windows

สำหรับ Linux

1.ดาวน์โหลดโปรแกรม PuTTy + Download
2.เข้าโปรแกรม PuTTy ที่ดาวน์โหลดมาเมื่อครู่
3.ตรงช่อง Host Name (or IP address) ให้ใส่ไอพีที่ลูกค้าได้รับไปแล้วกด Open
4.จะมีหน้าต่าง Terminal ขึ้นมา(หน้าต่างสีดำๆ)
5.ให้พิมพ์ Username ที่ลูกค้าได้รับแล้วกด Enter
6.ให้พิมพ์ Password ที่ลูกค้าได้รับแล้วกด Enter
7.เป็นอันเสร็จสิ้นการเข้าใช้งานสำหรับ VM ที่เป็น Linux
+ วิธีเปลี่ยนรหัสผ่านเครื่องเซิฟเวอร์ VPSและDDC

สำหรับ Windows

1.เข้าใช้งานเครื่อง VM หรือ DDC
2.ให้ไปที่ Control Panel > System and Security > Administrative tools
3.ดับเบิ้ลคลิ๊กที่ Computer management
4.ที่เมนูฝั่งซ้าย ให้เลือก Local User and Group > Users
5.คลิ๊กขวาที่ Administrator เลือก Set Paswword
6.ใส่รหัสผ่านที่ต้องการจะเปลี่ยนได้เลย (รหัสผ่านต้องมีอักษรพิเศษด้วย ไม่เช่นนั้นจะเปลี่ยนไม่ได้)
7.เสร็จสิ้นการเปลี่ยนรหัสผ่าน

สำหรับ Linux

1.เข้าใช้งานเครื่อง VM หรือ DDC
2.พิมพ์ passwd root แล้วกด enter
3.ให้ทำการกรอกรหัสผ่านใหม่ลงไป แล้วกด Enter
3.ให้ทำการกรอกรหัสผ่านใหม่ซ้ำอีกรอบนึง แล้วกด Enter
5.เสร็จสิ้นการเปลี่ยนรหัสผ่าน
+ วิธีแก้ปัญหา Authentication Error Has Occurred
สำหรับใครที่กำลังเจอปัญหานี้ ขณะเข้าใช้งานเครื่องที่เป็น Windows เราสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้ได้เลย
1.ดาวน์โหลดไฟล์ + Download
2.ทำการแตกไฟล์ที่ดาวน์โหลดมา
3.เปิดไฟล์ "แก้ CredSSp.reg"
4.ถ้ามี Popup เด้งขึ้นมาให้กด Yes ไปได้เลย
5.ลองเข้าใช้งานเครื่องอีกครั้ง
+ วิธีเพิ่มขนาด Storage สำหรับ Windows Server

ขั้นตอนที่ 1

ให้ทำการ Remote ไปที่เครื่อง VPS ของเรา

ขั้นตอนที่ 2

ที่หน้า Desktop จะมีไฟล์ที่เขียนว่า Extend_SSD

ขั้นตอนที่ 3

ให้เปิดไฟล์ Extend_SSD ขึ้นมา

ขั้นตอนที่ 4

หลังจากเปิดไฟล์แล้ว เมื่อไฟล์ Extend_SSD หายไป ถือเป็นการเสร็จสิ้นการเพิ่มขนาด Storage

+ วิธีเพิ่มขนาด Storage สำหรับ Linux

OS Ubuntu

  • 1.พิมพ์คำสั่ง growpart /dev/xvda 3
  • 2.พิมพ์คำสั่ง pvresize /dev/xvda3
  • 3.พิมพ์คำสั่ง lvextend /dev/ubuntu-vg/ubuntu-lv /dev/xvda3
  • 4.พิมพ์คำสั่ง resize2fs /dev/ubuntu-vg/ubuntu-lv
  • 5.พิมพ์คำสั่ง df -h และ lsblk เพื่อเช็คว่าขนาดพื้นที่ว่าเพิ่มหรือไม่

OS CentOS

  • 1.พิมพ์คำสั่ง yum -y install cloud-utils-growpart เพื่อติดตั้ง cloud-utils
  • 2.พิมพ์คำสั่ง growpart /dev/xvda 2
  • 3.พิมพ์คำสั่ง pvresize /dev/xvda2
  • 4.พิมพ์คำสั่ง lvresize -l +100%FREE /dev/mapper/centos_แล้วกดปุ่ม tab เลือกตัวที่มีคำว่า root ด้านหลัง
  • 5.พิมพ์คำสั่ง xfs_growfs /dev/mapper/centos_แล้วกดปุ่ม tab เลือกตัวที่มีคำว่า root ด้านหลัง
  • 6.พิมพ์คำสั่ง df -h เพื่อดูขนาดพื้นที่ว่าเพิ่มหรือไม่

OS Debian

  • 1.ทำการปิด swap ก่อนโดยใช้คำสั่ง swapoff -a
  • 2.ใช้คำสั่ง cfdisk /dev/xvda เพื่อเข้าสู่หน้าการจัดการ Partition
  • 3.ให้ทำการลบ partition ทั้งหมด
  • 5.ทำการสร้าง partition xvda1 ใหม่โดยให้ใส่ขนาดของ partition ให้ว่างแค่ 1GB เช่น ขนาดดิสทั้งหมด 100GB ให้ใส่แค่ 99G เหลือไว้ 1G ไว้ทำ swap
  • 4.หลังจากสร้าง partition xvda1 เสร็จแล้วให้สร้าง partition xvda2 โดยกำหนดขนาดที่เหลืออยู่ให้หมดไปเลย
  • 5.ทำการเลือก partition xvda2 แล้วกดไปที่ type
  • 6.เลือกลำดับที่ 82 Linux swap / Solaris
  • 7.เมื่อกำหนด type เสร็จแล้วให้เลือกไปที่ Write แล้วกด Enter ต่อด้วยพิมคำว่า yes แล้วกด enter
  • 8.พิมพ์คำสั่ง resize2fs /dev/xvda1 เพื่อทำการขยายขนาดของ partitions หลัก
  • 9.ทำการสร้าง swap ขึ้นมาโดยใช้คำสั่ง mkswap /dev/xvda2
  • 10.ให้เรา copy UUID ที่ปรากฏขึ้นมา
  • 11.ใช้สั่ง nano /etc/fstab
  • 12.เราจะเข้าสู่หน้าการตั้งค่าให้ swap ทำงานทันทีหลัง reboot เครื่อง
  • 13.ให้เราสังเกตุว่าจะมี UUID 2 ตัว ให้เลือกตัวที่ 2 แล้วลบ UUID อันเก่าออก แล้วใส่อันที่เราก๊อปปี้อันล่าสุดเข้าไป
  • 14.ให้กด ctrl + x แล้วกด enter กด y แล้วกด enter อีกครั้งเพื่อยืนยันการเซฟ
  • 15.พิมพ์คำสั่ง swapon /dev/xvda2 เพื่อทำการเปิดการทำงาน swap
  • 16.ใช้คำสั่ง reboot เพื่อทำการ reboot เครื่อง
  • 17.หลัง Reboot เครื่องเสร็จแล้วให้ลองเข้าใช้งานดู และพิมพ์คำสั่ง df -h และ lsblk เพื่อเช็คว่าขนาดพื้นที่ว่าเพิ่มหรือไม่
Thank you for using the service.

ขอขอบพระคุณที่ใช้บริการ